วันอังคารที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2553

20101221 : AI613 Class7

M-Commerce (Mobile Commerce)

ทำไม M-Commerce ถึงสำคัญ
1. Ubiquity สามารถใช้งานได้ทุกที่ แต่เดิมที่เราใช้คอมที่บ้านหรือที่ทำงาน ต้องใช้ร่วมกับคนอื่น อาจมีปัญหาเรื่องความปลอดภัยของข้อมูล
2. Convenience ในปัจจุบันมีอินเตอร์เน็ทอยู่ทุกที่ และอินเตอร์เน็ทยังมีการพัฒนาความเร็วมากขึ้นเรื่อยๆ
3. Instant Connectivity สามารถต่ออินเตอร์เน็ทได้อย่างรวดเร็ว ทำให้การซื้อขายเป็นไปได้โดยง่าย รวดเร็ว และต่อเนื่อง ต่างจาก PC ที่ต้องใช้เวลามากกว่า และการต่ออินเตอร์เน็ทอาจไม่คงที่ นอกจากนี้การต่ออินเตอร์เน็ทผ่านมือถือจะถูกออกแบบมาให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้มากกว่า
4. Personalization สามารถปรับปรุง ตกแต่งให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ได้
5. Localization of products & services เช่น GPS สามารถใช้ระบุตำแหน่งและบอกเส้นทางได้

Drivers of mobile Computing & M-Commerce
- Widespread availability of mobile devices ในปัจจุบันมีการใช้มือถือกันอย่างกว้างขวาง ซึ่งคนหนึ่งคนอาจจะมีมากกว่า 1 หมายเลขด้วยซ้ำ
- No need for a pc เมื่อมีมือถือแล้วก็ไม่จำเป็นต้องใช้ PC อีก
- Handset culture คนในยุคปัจจุบันจะนิยมใช้มือถือมากกว่าการใช้ PC เพราะมีความคล่องตัว ฉับไวมากกว่า
- Declining prices, increase functionalities มือถือมีการพัฒนาฟังก์ชั่นต่างๆ มากขึ้น ในขณะที่มีราคาถูกลง
- Improvement of bandwidth – 3G & 3.5G ต้องมีการพัฒนาเพื่อรองรับการใช้งาน
- Centrino chip ชิพที่ใช้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น Apple ที่พัฒนาให้เครื่องกินไฟน้อยลง ทำงานได้เร็วขึ้น ปลอดภัยมากขึ้น
- Availability of Internet Access in automobile เช่น Navigator ที่ติดในรถยนต์
- Networks ใช้สร้างเป็นเครือข่ายผ่านเทคโนโลยี 3G, 4G หรือ Wifi ได้
# โทรศัพท์ในยุคใหม่จะเป็น Voice + Content + Data #

M-Commerce ที่นิยมใช้กัน ได้แก่ Mobile Shopping, Mobile Banking, Information Based Services ไม่ว่าจะไปที่ไหนก็มีอินเตอร์เน็ทใช้, Mobile Travel Information and Booking บริษัทต่างๆ ในไทยใช้กันเยอะ เวลาไปโรงแรมต่างๆ ก็สามารถดูรีวิวผ่านโทรศัพท์มือถือได้ เป็นต้น

Mobile Computing Infrastructure
- WAP (Wireless Application Protocol) ทำให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อให้หลายๆ อุปกรณ์เชื่อมโยงกันได้หมด
- HTML5 เป็น Standard ใหม่ ที่บริษัทต่างๆ กำลังพัฒนาให้ใช้งานได้ เช่น Apple จะนิยมใช้ เนื่องจากไม่ต้องมีการอัพเดทข้อมูล

Mobile Computing Basic Terminology
- PDA ปัจจุบันไม่ค่อยใช้กันแล้ว เพราะหันไปใช้ Smartphone กันหมด
- WLAN เช่น Wifi

3G สำคัญกับผู้ประกอบการมาก เพราะสามารถเรียกเก็บค่าบริการที่สูงขึ้นได้ แต่สำหรับผู้ใช้งานแล้ว ถ้ามีก็ทำให้สะดวกขึ้น แต่ก็ไม่ได้จำเป็นขนาดที่จะขาดไม่ได้
WiMax เป็น Wireless ที่มีเสาไฟฟ้าขนาดใหญ่ ซึ่งจะสามารถส่งสัญญาญ Wireless ได้ครอบคลุมพื้นที่ได้กว้างขึ้น ปัจจุบันมีการใช้งานที่แม่ฟ้าหลวง แต่มีต้นทุนสูงมาก
RFID เป็นเทคโนโลยีในมือถือที่ทำให้สามารถจ่ายเงินผ่านมือถือ หรือ Wallet โดยการสแกนได้เลย
Android OS พัฒนามาจาก Google เนื่องจาก Google ไม่ต้องการสร้าง Software ขึ้นมาเพื่อแข่งกับ Apple จึงสร้าง Android ขึ้นมาเพื่อให้เอาไปใช้ใน Hardware ต่างๆ ซึ่งมาจากการเลียนแบบ Microsoft คนที่ใช้ Android จะเป็นคนที่มีฐานะ หรือเป็นคนรุ่นใหม่เป็นส่วนใหญ่
BlackBerry OS นิยมใช้ในวงการธุรกิจในการรับส่งอีเมลล์ แต่ในเมืองไทยแล้วใช้ในการติดต่อสื่อสารกันมากกว่า โดยในไทยจะต่างจากประเทศอื่นๆ ที่ BB ขายดีกว่า IPhone การใช้ BB ในไทยเป็นค่านิยมของคนที่ต้องการให้คนมองว่า มีเพื่อนเยอะ เป็น Social network ที่สร้างคุณค่าบางอย่างขึ้นมาจากการใช้ BB แล้วทำให้ออกจาก Social network นี้ไม่ได้
iTunes ถือว่าเป็น Hub ที่จะครองโลก เริ่มจากการที่คนโหลด MP3 กันเยอะ บริษัทต่างๆ ที่ขายเทป หรือ ซีดี จึงหาทางป้องกัน จนเริ่มมีการฟ้องร้องกัน Apple จึงเข้ามามีบทบาท เนื่องจากตาม Concept Long Tail นั้น มีคนอีกจำนวนมากที่ยินดีจะจ่ายมากขึ้นเพื่อให้ได้สิ่งที่มีคุณภาพตามที่ต้องการในราคาที่พอรับได้ จึงทำให้มีการขายเพลงโดยไม่จำเป็นต้องซื้อทั้งอัลบั้ม โดย Apple ใช้ IT เพื่อทำให้เป็น Music Store โดยจะ Charge ในราคาที่ไม่สูงจนเกินไป เพื่อให้คนสามารถซื้อได้  บริษัททำเพลงต่างๆ ก็นำมาวางขายใน iTunes ด้วย นอกจากนี้ยังมีการขาย Content ด้วย โดย iTunes ใน America ขายเพลงได้ถึง 66% จากยอดขายเพลงทั้งหมด ค่ายเพลงก็ชอบ เนื่องจากทำให้มียอดขายมากขึ้น นักร้องก็ได้เปอร์เซนต์จากการขายมากขึ้น Apple ก็ได้ Commission ด้วย ถือว่า iTunes เป็นผู้ปฏิวัติอุตสาหกรรมเพลง
App – iBooks เนื่องจากหนังสือต่างๆ โดนละเมิดลิขสิทธิ์ได้ง่าย Apple จึงเข้ามาปฏิวัติวงการหนังสือ ด้วยการให้สามารถโหลดหนังสือผ่านอินเตอร์เน็ทได้
Accessory เช่น Apple ที่ผลิตอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้กับ IPhone ได้แก่ Case ซึ่ง Accessory จะเป็นตัวทำเงินได้ดี เนื่องจากเป็นการเพิ่ม Value-added ให้กับ IPhone
Mobile Applications in Sports เช่น Nike ที่เอา App มาใส่ในรองเท้า ทำให้เวลาวิ่ง เพลงจะดังขึ้นเรื่อยๆ และเมื่อนำไปเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์จะสามรถอัพเดทออนไลน์ได้เลยว่า วันนี้วิ่งไประยะทางเท่าไหร่ น้ำหนักลดกี่กิโล เป็นการสร้าง Value-added ทางหนึ่ง
# ประเทศญี่ปุ่นจะนิยมใช้ Mobile Phone มากกว่าการใช้ PC เนื่องจาก Lifestyle ของคนญี่ปุ่น #
QR Code การสแกนบาร์โค้ด

Location-Based Services and Commerce สามารถบอกได้ว่า ผู้ใช้อยู่ที่ไหน เช่น อยู่ที่ศูนย์สิริกิตติ์ แล้วยังบอกได้อีกว่ามีโปรโมชั่นอะไรบ้าง
- GPS มักจะมาพร้อมกับรถสมัยใหม่เลย หรืออาจซื้อมาติดเองได้ ใช้ในการบอกทิศทางในการเดินทาง รถทัวร์ในไทยก็มีการใช้งาน
- FourSquare เป็นแอพพลิเคชั่นที่เราสามารถเช็คอิน เพื่อเช็คตำแหน่งที่อยู่ผ่านโทรศัพท์มือถือ โดยจะมีทั้งระบบ Android OS, IPhone OS และ BlackBerry OS โดยการเช็คอินจะมีประโยชน์ในการรับสิทธิพิเศษ เช่น คนที่เช็คอินที่ร้านกาแฟบ่อยๆ ที่สยาม ก็จะได้กาแฟฟรี 1 แก้ว โดยไม่ต้องซื้อของ แค่เช็คอินก็ได้แล้ว ซึ่ง DTAC ที่มีโปรโมชั่นนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้าง Awareness เนื่องจากการเช็คอินที่อยู่จะไปปรากฏในหน้าเว็บ เช่น Facebook ทำให้คนที่ไม่เคยใช้บริการพบเห็นหรือรู้จักชื่อร้าน และเป็นการส่งเสริมการขายวิธีหนึ่งด้วย นอกจากนี้ในบางมหาวิทยาลัยยังใช้ FourSquare ในการสร้าง Community ขึ้นมาอีกด้วย
- GeoTagging  บอกได้ว่าอยู่ที่ไหนแล้ว
- Best Buy Shop Kicks เมื่อเดินเข้าไปในร้าน จะสามารถบอกได้ว่า มีโปรโมชั่นอะไรบ้าง หรืออาจเป็นการส่งคูปองส่วนลดมาให้
- Mobile Youtube จะมีขนาดเล็กกว่าสำหรับการใช้งานผ่านมือถือ
- iPad เข้ามาเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้งานโทรศัพท์มือถือของคน ข้อดีของ iPad คือไม่ต้องใช้คีย์บอร์ด ซึ่งน่าจะใช้งานได้สะดวกกว่า โดยเกือบทุกอย่างที่ทำใน PC ได้ ก็สามารถใช้งานผ่าน Tablet PC อย่าง iPad ได้เช่นกัน เช่น การอ่านหนังสือพิมพ์ ในปัจจุบันคนจะไม่ค่อยอ่านหนังสือพิมพ์กันแล้ว แต่จะอ่านผ่านอินเตอร์เน็ทมากกว่า โดยอ่านขายผ่านเว็บกันเลย ซึ่งเป็น Business Model ใหม่ และที่สำคัญที่สุด การใช้ Tablet PC สามารถนำติดตัวไปใช้งานได้ทุกที่ มีความสะดวกและน้ำหนักเบากว่า PC
- Samsung Galaxy เอาชนะ iPad ด้าน Content ไม่ได้ จึงไปพัฒนาด้านขนาดและน้ำหนักแทน โดยจะมีขนาดใหญ่กว่า iPhone แต่จะมีขนาดเล็กกว่า iPad
        - BlackBerry Playbook มีลักษณะคล้าย iPad ออกมาเพื่อแข่งกับ iPad

Presentation
#1 : Mobile Robot
หุ่นยนต์ หรือ โรบอต (robot) คือ เครื่องจักรกลชนิดหนึ่ง มีหลากหลายประเภทและรูปแบบที่มีหน้าที่การทำงานในด้านต่าง ๆ ตามการควบคุมโดยตรงของนุษย์ โดยทั่วไปจะถูกใช้สำหรับงานที่มีความยากลำบากสำหรับมนุษย์ ปัจจุบันเทคโนโลยีของหุ่นยนต์เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โดยเข้ามามีบทบาทกับชีวิตของมนุษย์และมีการนำหุ่นยนต์มาใช้งานมากขึ้นในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านอุตสาหกรรมการผลิต การแพทย์ งานสำรวจ งานอวกาศ หรือใช้เป็นเครื่องเล่นของมนุษย์ ซึ่งมีการพัฒนาให้หุ่นยนต์นั้นมีลักษณะที่คล้ายมนุษย์ เพื่อให้อาศัยอยู่ร่วมกันกับมนุษย์ในชีวิตประจำวันได้
ตัวอย่างการนำหุ่นยนต์ไปใช้งานในปัจจุบัน ได้แก่
- รพ.บำรุงราษฎร์ ใช้หุ่นยนต์ในการจ่ายยา เพื่อลดความผิดพลาดจากเภสัชกร ทำให้เภสัชกรสามารถให้บริการในส่วนอื่นได้ดียิ่งขึ้น
- ร้านอาหาร Hajime บุฟเฟ่เนื้อย่าง สไตล์ญี่ปุ่น ใช้หุ่นยนต์ในการรับรายการอาหาร จัดเตรียมอาหาร เสิร์ฟอาหาร หรือเก็บจานไปยังห้องล้างจาน เป็นต้น

#2 : Virtual World
        โลกเสมือน (Virtual World) คือ การจำลองสภาพแวดล้อมที่สามารถตอบสนองต่อการใช้งานของผู้ใช้หลายคน พร้อมๆ กัน ผ่านเครือข่ายออนไลน์ มีคุณลักษณะทั่วไป 6 ข้อดังนี้
        1. Share Space : ผู้ใช้หลายคนสามารถเข้าไปยังสถานที่ต่างๆ ได้ในเวลาเดียวกัน
        2. Graphical User Interface : โลกเสมือนจะใช้ภาพในการนำเสนอ โดยอาจจะเป็นภาพ 2 มิติ หรือ 3 มิติก็ได้
        3. Immediacy : มีการตอบสนองเกิดขึ้นทันที
        4. Interactivity : ผู้ใช้สามารถสร้าง พัฒนาและเปลี่ยนแปลง ข้อมูลที่ต้องการในโลกเสมือนได้เอง
        5. Persistence : สถานที่หรือข้อมูลต่างๆ ในโลกเสมือน จะยังคงมีอยู่ต่อไป ถึงแม้ว่าผู้ใช้จะไม่ได้ log in เข้าสู่ระบบ       
        6. Socialization/Community: ส่งเสริมให้เกิดการรวม กลุ่มของผู้ใช้เป็นสังคมย่อยๆ เช่น ทีม คลับ เพื่อนบ้าน เป็นต้น
        ตัวอย่างรูปแบบการใช้งาน Virtual World ได้แก่ Massive Multiplayer Online Role-Playing Game หรือ MMORRG ซึ่งก็คือเกมอาร์พีจีผู้เล่น หลายคนเข้ามาเล่นในเวลาเดียวกัน และเสมือนอยู่ในโลกเดียวกัน โดยผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่, เครือข่าย สังคมออนไลน์ (Social Networking Website), ร้านค้า เสมือนจริง (Virtual Shopping), การท่องเที่ยวเสมือนจริง (Virtual Tour)

#3 : E-Book Reader
E-Book เป็นการเปลี่ยนหนังสือให้เป็นอิเล็คทรอนิค 
ข้อดี คือ ทำให้การอ่านหนังสือเป็นเรื่องง่ายขึ้น ไม่น่าเบื่อ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ลดต้นทุนการผลิตหนังสือ เพราะไม่ต้องใช้กระดาษ และทำให้เกิดห้องสมุดขนาดใหญ่ขึ้น อีกทั้งยังสะดวกในการสั่งซื้อหนังสือ เพราะสามารถซื้อได้ทางออนไลน์เลย ไม่ต้องเดินหาซื้อเอง
        ข้อเสีย คือ ราคาสูง เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีการใช้งานไม่แพร่หลายนัก ทำให้ Content น้อย และส่วนใหญ่ยังไม่รองรับ


น.ส.จิราพร พรพัฒนกุลฑล
ID NO. 5202112743

วันพุธที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2553

20101214 : AI613 Class6

E-Business and E-Commerce

Amazon.com เดิมเป็นเว็บไซต์ที่ขายหนังสือออนไลน์ โดยจะปกติแล้วคนจะซื้อหนังสือที่เป็น Best Seller (TOP10 หรือ TOP5) เป็นส่วนใหญ่ แต่ Amazon มองว่า คนพวกนั้นเป็นเพียง 10% ยังมีคนอีกประมาณ 90% ที่ชอบหนังสือแปลกๆ จึงใช้ Concept แบบ Long tail เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าเหล่านั้น
Click-&-mortar เป็นธุรกิจที่มีทั้งออนไลน์และออฟไลน์ เป็นธุรกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ตั๋วเครื่องบิน และโรงแรม เป็นต้น

E-Commerce Business Model
- Affiliate market คือ การรีวิวสินค้าแล้วสร้างลิงค์มาโพสในเว็บเรา ถ้ามีคนซื้อของโดยกดผ่านเว็บเรา จะทำให้เราได้เปอร์เซ็นตจากที่ขายได้
- Bartering online คือ การยื่นหมูยื่นแมว เป็นเว็บไซต์ที่มาแลกเปลี่ยนกัน (craigslist.com) เป็น message board อยากทำธุรกิจหรือพูดคุยกับคนกลุ่มใดก็สามารถทำได้ และสามารถ trade off ได้
- Priceline.com เช่นการเสนอราคาซื้อขายตั๋วเครื่องบิน
- Flickr.com เป็น website ที่ใช้ upload รูปภาพฟรี ด้วย concept “Freemium” และยังเป็น long-tail เนื่องจากผู้ใช้ที่ต้องการ application ที่ซับซ้อน เช่น นักเล่นกล้อง จะต้องจ่ายเงินเพิ่มกว่าผู้ใช้ทั่วไป

Application Programming Interface เป็นการ link โปรแกรมของทั้งสองบริษัทเข้าด้วยกัน เช่น Apple iPhone, Android application ตัวอย่างเช่น Paypal เป็นการ Online Payment เช่นในการซื้อขายของจากต่างประเทศ ไม่อยากใช้บัตรเครดิต เพราะกลัวปัญหาเรื่องความปลอดภัย

Benefits of E-commerce
      ข้อดีสำหรับองค์กร คือ เข้าถึงลูกค้าได้หลายกลุ่ม ทั้งการซื้อขายออนไลน์และออฟไลน์ หากการสินค้าที่ซื้อแบบออนไลน์มีปัญหา สามารถติดต่อได้ที่เคาน์เตอร์ออฟไลน์
      ข้อดีสำหรับลูกค้า คือ สามารถเลือกสินค้าตามที่ต้องการได้ทุกเวลา สะดวก ต้นทุนต่ำ
      ข้อดีสำหรับ Society คือ ทำให้คนเจอหน้ากันมากขึ้น เพราะอยู่ที่บ้านก็สามารถทำงานได้

Limitation of E-commerce
- เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงเร็ว (Browser ที่ใช้ต่างกัน ก็ใช้ไม่ได้)
- ฐานข้อมูลบัตรเครดิตไม่มีความปลอดภัย อาจโดนแฮ็คได้
 
Social commerce or Social shopping การซื้อของไม่ได้อยู่ๆก็ซื้อ ต้องมีการหาข้อมูล ปรึกษาผู้รู้ก่อน โดยอาจหาข้อมูลจากนิตยสาร
Google กลัว FB เพราะ FB มีฐานข้อมูลที่ใหญ่มาก เกือบ 70% เข้า FB เกือบทุกวัน โดย FB กำลังพัฒนาตัวเองให้เป็น Search engine ที่ใหญ่ที่สุด
 
Electronic Catalog (E-catalog) เป็นแคตตาล็อกออนไลน์ให้ลูกค้าสามารถเลือกซื้อสินค้าได้ผ่านอินเตอร์เน็ท

E-Auction เช่น uBid.com เป็นการประมูลออนไลน์ ไม่ได้หมายถึงเฉพาะการประมูลแบบคนต่อคนเท่านั้น แต่อาจเป็นบริษัทที่มีสินค้าที่ตกรุ่นแล้วมาให้คนประมูลก็ได้
 
E-Classifieds เช่น Half.com เป็นเว็บไซต์ที่ขายสินค้าครึ่งราคา คนที่ขี้เกียจประมูลสามารถมาเลือกซื้อสินค้าจากเว็บนี้ได้

Electronic storefronts คือมีธุรกิจอยู่แล้ว แต่เพิ่มการทำออนไลน์เข้าไปด้วย ซึ่งมีข้อดีคือ เข้าถึงลูกค้าได้หลายกลุ่ม ไม่ต้องสต๊อกสินค้าไว้เยอะ ถ้าสินค้ามีปัญหาก็เอาไปเคลมหน้าร้านได้ แต่ข้อเสียคือ ต้องมี management แยกกัน โดยในการทำ Electronic storefronts จะต้องมี Customer service online ที่ดี ได้แก่ การมี FAQ ที่เป็นคำถามที่เจอบ่อยๆ เช่น ถ้าสินค้ามีปัญหาจะคืนยังไง เป็นต้น

Electronic Malls คือ ความพยายามที่จะทำให้ผู้บริโภคสัมผัสกับประสบการณ์ที่เหมือนการเดินชอปปิ้งในห้าง

Chemconnect คือ ตัวอย่างบริษัทซื้อขายสารเคมีที่ใช้เว็บไซต์ในการซื้อขาย

Alibaba.com เป็นเว็บไซต์ที่เหมือน Tarad.com แต่รวมทั้งเอเชีย ซึ่งสามารถซื้อสินค้าได้หลากหลาย ทั้งจากจีน อินเดีย เกาหลีใต้ หรือบริษัทต่างๆ อาจเข้าไปเช็คว่ามีสินค้าอะไรบ้างในประเทศไหน ก่อนจะไปบินไป negotiate ซื้อขายโดยตรง

Online Job Market เช่น Monster ที่คนที่ต้องการหางานจะเอาประวัติหรือ CV ไปโพสไว้ ถ้ามีคนสนใจก็จะมีการติดต่อกลับมา เป็นการพยายาม Match คนจ้างกับคนหางาน

Travel Services ธุรกิจท่องเที่ยวเป็นอีกธุรกิจที่ใช้อิเล็คทรอนิค หรือ IT เยอะมาก เริ่มตั้งแต่การจองตั๋วเครื่องบิน ตั๋วรถไฟ โรงแรม ที่เที่ยว การทำกิจกรรมต่างๆ การกิน การซื้อของ ซึ่งธุรกิจท่องเที่ยวจะมี Supply chain เยอะมาก มีการทำเป็นแพ็คเกจให้คนเข้าไปเลือกได้ เช่น hotelsthailand.com

Real Estate Online เป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่ดิน คอนโด ออนไลน์ โดยมีการใช้ social media ในไทย เช่น พฤกษา เป็นต้น

      การทำ E-commerce ไม่จำเป็นต้องเป็นทางธุรกิจอย่างเดียว อาจเป็น E-government ก็ได้ เช่น การทำPassport ข้อมูลจะ link กันหมด, E-revenue การจ่ายภาษีออนไลน์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมี E-auction เช่นการประมูลทะเบียนรถ อีกด้วย

Ethical & Legal Issues in E-Business การซื้อของหรือทำธุรกรรมต่างๆ ต้องดูว่าเชื่อถือได้หรือไม่ ส่วนใหญ่จะดูจากระบบรีวิวของผู้เคยใช้บริการ แต่ในเมืองนอกจะมีเว็บไซต์ที่คอย Report ว่าเว็บไซต์นี้ดีมั้ย มีการให้เรตติ้ง แต่ในเมืองไทยน่าจะยังไม่มี จึงต้องอาศัยการรีวิวจากผู้ที่เคยใช้เป็นข้อมูลประกอบในการตัดสินใจ

Presentation
1. Cloud Computing
      ระบบเสมือนจริง (Virtualization) ที่ Computer ของผู้ใช้ ทำหน้าที่เพียงติดต่อ User Interface เพื่อแสดงผลและรับคำสั่ง และสื่อสารไปยังบริการต่าง ๆ บน Cloud System เพื่อการจัดเก็บและเรียกใช้ข้อมูล ประมวลผล และใช้โปรแกรมประยุกต์ (Application Programs) ที่หลากหลาย
      ข้อดีคือไม่ต้องลงทุนเอง เพราะลงทุนด้านไอทีมันแพง และบางบริษัทไม่ได้มีขนาดใหญ่พอที่จะรองรับเซิร์ฟเวอร์จำนวนมาก การทำ Cloud computing จะช่วยประหยัดต้นทุนและทำให้บริษัทสามารถโฟกัสไปยัง Core competency ของบริษัทได้ นอกจากนี้ยังไม่ต้องกังวลเรื่องการล้าสมัย การใช้เซอร์วิสที่ไปดึงข้อมูลจากคนอื่น ไม่ต้องเก็บข้อมูลไว้เอง ทำให้ต้นทุนถูกกว่ามาก
      ข้อเสียคือ Privacy อาจโดนแฮคได้, Platform ไม่มีความเป็นมาตรฐาน เพราะผู้ใช้พัฒนา Platform เอง และในด้านความน่าเชื่อถือนั้น การดึงข้อมูลจากคนอื่น ไม่รู้ว่าระบบจะล่มเมื่อไหร่ เช่น hotmail ถ้าระบบเกิดล่ม service ใช้ไม่ได้ขึ้นมาก็จบ แต่ถ้าเรามีระบบเป็นของตัวเอง ก็สามารถเซฟตรงนี้ได้ ทั้งนี้ แม้จะเกิดความคุ้มค่าของการใช้ประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์แต่อาจสิ้นเปลืองทรัพยากรด้านการสื่อสาร (Bandwidth) บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในมูลค่าที่สูงกว่าได้

2. Health Informatics
     การนำข้อมูลที่เกี่ยวกับทางด้านสุขภาพมาผนวกกับเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อนำมาใช้ในการจัดการทรัพยากร, เครื่องใช้ต่างๆ และนำมาพัฒนาปรับปรุงวิธีการได้มา, การเก็บรักษาและการใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่เกี่ยวสุขภาพ
      ระบบสารสนเทศสุขภาพ (Health Information) หมายถึง สารสนเทศที่เกี่ยวกับสุขภาพอนามัยของประชาชน รวมถึงข้อมูลด้านทรัพยากรสาธารณสุข และกิจกรรมสาธารณสุข โดยสารสนเทศสุขภาพแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่ ข้อมูลด้านประชากร เศรษฐกิจและสังคม ข้อมูลด้านสถานสุขภาพ ข้อมูลด้านทรัพยากรสาธารณสุข ข้อมูลด้านกิจกรรมสาธารณสุข และข้อมูลด้านการบริหารจัดการ
      ประโยชน์ของสารสนเทศสุขภาพ คือ ทำให้ทราบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและสาธารณสุข เพื่อใช้เป็นแนวทางในการวางแผนเพื่อแก้ปัญหาสาธารณสุขได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

3. Web 2.0
      Web 2.0 คือ Web Browser ที่ผู้ใช้งานจะเป็นเจ้าของข้อมูลบนเว็บไซต์ ซึ่งสามารถจัดการข้อมูลนั้นๆ ได้ นอกจากนี้ผู้เข้าชมเว็บไซต์ยังสามารถสร้าง content และ Tag content ของเว็บไซต์ ซึ่งต่างจาก Web 1.0 แบบเดิมที่มีลักษณะของการให้บริการอ่านอย่างเดียว และยังใช้เวลานานในการอ่านและตอบสนองข้อมูล แต่ Web 2.0 จะมีการ Refresh แค่บางส่วนของหน้าเว็บ ทำให้ส่งข้อมูลและตอบสนองเร็วขึ้น เช่น Google map รวมถึงการมีคุณสมบัติ mash-up ที่เป็นการนำฟังก์ชั่นการใช้งานจากเว็บหลายๆ ที่มาผนวกเข้าด้วยกัน
      ตัวอย่าง Web 2.0 ได้แก่ YouTube, Facebook, MySpace, Wikipedia


น.ส.จิราพร พรพัฒนกุลฑล
ID NO. 5202112743

วันพุธที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2553

20101207 : AI613 Class5

Information Technology Economics
Technology and Economic Trends and the Productivity Paradox

Moore’s law – มีการใช้ชิพคอมพิวเตอร์เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ต้นทุนจะยังคงที่ โดยอัตราส่วนราคาต่อ Performance จะลดลงอย่างต่อเนื่อง และด้วยข้อจำกัดของเทคโนโลยีปัจจุบัน ทำให้ต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออนาคตข้างหน้า

Productivity Paradox มีสาเหตุสำคัญ ดังนี้
        1. ผลตอบแทนไม่ชัดเจน ยากที่จะวัด Benefit ที่ได้รับ หรือต้องใข้เวลาในการวัดนาน ต่างจากการลงทุนในโฆษณาที่อาจจะวัดได้จากยอดขายที่เพิ่มขึ้น
        2. การลงทุนใน IT ต้องมีการปันงบประมาณการลงทุนมาจากส่วนอื่น จึงอาจส่งผลกระทบในทางลบแก่ส่วนอื่นๆ ในบริษัทได้
        3. การลงทุนใน IT แม้จะมี Benefit แต่มีต้นทุนสูงมาก
        4. ใช้เวลานานกว่าจะคืนทุน
        5. มีปัจจัยอื่นๆ อย่างเช่น กฎหมาย ข้อพิจารณาด้านแรงงาน เป็นต้น ที่จะทำให้ Performance ไม่เป็นไปตามที่ต้องการ
        # ในการพิจารณาว่าจะลงทุนใน IT หรือไม่ ให้มองที่ระดับองค์กรเท่านั้น ไม่ได้มองว่า คุ้มหรือไม่ แต่การลงทุนต้องพัฒนา Productivity ขององค์กรโดยรวม ซึ่งอาจพิจารณาแยกเป็น 2 ประเภท คือ ผลกระทบทางตรง (Direct Impact) ได้แก่ การลดต้นทุนการขนส่ง การเพิ่มยอดขาย เป็นต้น และผลกระทบทางอ้อม (Second-order Impact) ได้แก่ การได้ส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้น แล้วทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้น เป็นต้น

Evaluating IT Investments :
Needs, Benefits, Issues, and Traditional Methods

สาเหตุที่ต้องมีการพิจารณาการลงทุนใน IT
เพราะในสมัยก่อนการลงทุนใน IT จะยังขาดความรู้ความเข้าใจและเป็นการลงทุนแห่ตามกัน อย่างเช่น E-Commerce ส่งผลให้ขาดความรู้และเครื่องมือในการคำนวณ วิเคราะห์ทางการเงิน และประเมินผลตอบแทนที่จะได้รับ ดังนั้นจึงต้องมีการประเมินว่า IT Project ให้ Benefit แก่องค์กรอย่างไร โดยองค์กรจะต้องตระหนักว่า การลงทุนใน IT นั้นมิได้เป็นการวิธีแก้ปัญหาที่จำเป็นสำหรับทุกปัญหา ซึ่งการพิจารณาว่าจะลงทุนใน IT หรือไม่นั้น อาจอาศัยวิธีการวิเคราะห์ Cost-Benefit โดย Benefit ที่จะได้รับอาจต้องใช้เวลาในการวัดและเห็นผล นอกจากนี้ความสำเร็จของ IT Project ยังสามารถใช้เป็นแรงจูงใจได้ เช่น การที่ IT Project ประสบความสำเร็จ ส่งผลให้ยอดขายเพิ่ม ก็จ่ายโบนัสให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเพิ่ม ซึ่งจะเป็นแรงจูงใจให้เกิดการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นได้

Project ที่ไม่ต้องพิจารณาเรื่อง Cost-Benefit ได้แก่
1. โปรเจ็คที่ใช้เงินลงทุนน้อย ถ้าจะ justify ก็เสียเวลา
2. โปรเจ็คที่เป็น Infrastructure ซึ่งถ้าหากไม่ลงทุนจะก่อให้เกิดความเสี่ยง
3. โปรเจ็คที่เจ้านายสั่ง ไม่ต้อง Justify เพราะไม่ว่ายังไงก็ต้องทำ
4. โปรเจ็คที่มีข้อมุลในการตัดสินใจไม่เพียงพอ ทำให้ Justify ไม่ได้ จึงต้องอาศัยการประเมินแบบ Qualitative แทน

Difficulties in Measuring Productivity & Performance Gains
1. ตอบไม่ได้ว่าจะวัดอะไร เพราะมีทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน หรืออาจวัดได้ยาก เช่น Second-order impact จึงต้องมีตัวชี้วัดที่ชัดเจน
2. Time Lags - การลงทุนส่งผลตอบแทนช้า ทำให้การวัด Productivity ต้องเลื่อนออกไปหลังจากที่ระบบสมบูรณ์แล้ว
3. วัดความสัมพันธ์ระหว่างการลงทุนใน IT และ Performance ขององค์กรได้ยาก เช่น เรื่องความพึงพอใจของลูกค้า อาจแก้โดยใช้เครื่องมือในการวัดอย่าง Balanced scorecard มาช่วย

Intangible Benefits 
        ผลประโยชน์ที่อยากจะประเมินเป็นตัวเงิน เช่น การที่สินค้าออกสู่ตลาดเร็ว ความพึงพอใจของลูกค้า ผู้ใช้ หรือพนักงาน และความคล่องตัวขององค์กร เป็นต้น ซึ่งถ้าประเมิน Intangible benefit สูงไป อาจทำให้พลาดโอกาสในการลงทุนอื่นๆ ที่ดีกว่า ในทางกลับกัน หากประเมิน Intangible benefit ต่ำไป อาจทำให้พลาดโอกาสการลงทุนที่ดีนี้ไปเข่นกัน ดังนั้นจึงต้องพยายามที่จะวัดในสิ่งที่วัดไม่ได้ให้วัดได้ โดยสามารถใช้วิธีการดังต่อไปนี้
 - Think broadly and softly มองหา Benefit อื่นๆ ที่อาจนำไปสู่ผลลัพธ์ทางการเงินที่สำคัญได้ เช่น ลูกค้ามีความซื่อสัตย์กับองค์กรมากขึ้น
         - Pay your freight first มองผลประโยชน์ที่จะได้รับในระยะสั้นๆ ก่อน
        - Follow the unanticipated มองผลประโยชน์ที่จะมาจากทุกๆ ทาง บางครั้งเรียกว่า Crowd sourcing

Costing IT Invesment
ประกอบด้วยต้นทุนคงที่ (Fixed cost) ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในปีแรก และ Transaction costs ได้แก่ ต้นทุนในการค้าหาผู้ซื้อหรือผู้ขายที่มีสินค้าหรือบริการที่ต้องการ (Search) ต้นทุนการหาข้อมูลเกี่ยวกับการซื้อขายหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (information) ต้นทุนในการเจรจาต่อรองหรือตกลงซื้อขายกัน (Negotiation) ต้นทุนในการตัดสินใจ (Decision) เช่น การอนุมัติการซื้อ การตรวจสอบสินค้า และต้นทุนในการติดตามผล (Monitoring) เช่น บริษัท DHL ซึ่งเป็นบริษัททำธุรกิจขนส่ง หรือไปรษณีย์ที่ต้องมีระบบที่สามารถติดตามสถานะของสินค้าได้

Revenue Models Generated by IT & Web
- Sales รายได้จากการขายสินค้าหรือบริการในระบบออนไลน์ เช่น การทำ E-commerce
- Transaction fees เช่น e-bay ที่จะได้เงินส่วนหนึ่งตอนที่มีการซื้อขายสินค้ากันบนเว็บ
- Subscription fees เช่น ต้องการใช้งานแบบพรีเมี่ยมก็ยอมจ่ายเงินเพิ่ม
- Advertising fees เช่น Google ที่ได้ค่าโฆษณา หรือรายได้จากให้เช่าพื้นที่สำหรับแบนเนอร์ต่างๆ
- Affiliate fees เกิดจากการเอาแบนเนอร์มาแปะบนเว็บ แล้วเมื่อลูกค้าซื้อสินค้าโดยกดผ่านแบนเนอร์ ก็จะได้รับเงิน

Cost-Benefit Analysis
    การวิเคราะห์จะอาศัยหลักเกณฑ์การเปรียบเทียบต้นทุนที่คาดว่าจะต้องเสียกับรายได้หรือผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ซึ่งการลงทุนในโปรเจ็คใดๆ จะต้องได้รับผลตอบแทนมากกว่าผลตอบแทนที่ได้จากการนำเงินไปฝากธนาคาร และควรมีการเรียงลำดับความสำคัญ เพื่อให้มีการปันส่วนทรัพยากรอย่างเหมาะสม โดยในการวิเคราะห์ Cost-Benefit มี 2 ขั้นตอนด้วยกัน คือ
        1. ระบุและประเมินต้นทุนและผลประโยชน์ตอบแทนทั้งหมดที่จะได้จากโปรเจ็ค
        2. แปลง Cost และ Benefit ให้เป็น Common units คือเป็นตัวเงินชัดเจน
       Costs ได้แก่ ต้นทุนการพัฒนา (ค่าจ้างคนพัมนาระบบ) ต้นทุนการติดตั้ง (ค่าฮาร์ดแวร์ ซอฟท์แวร์) และต้นทุนการใช้งาน (ค่าใช้จ่ายคนที่มา operate ระบบ ค่าไฟ ค่ากระดาษ)
        Benefits ได้แก่ Direct benefits (ลดกระดาษ, Transaction เร็วขึ้น) Assessable indirect benefits และ Intangible benefits ซึ่งควรจะประเมินให้เป็นตัวเงิน เช่น การที่ลูกค้ามีความพึงพอใจมากขึ้น ทำให้รายได้เพิ่มขึ้น 1%

Cash Flow Forecasting
        เป็นการระบุรายรับและรายจ่ายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อใช้ในการตัดสินใจลงทุนในโปรเจ็คต่างๆ ซึ่งมีหลายวิธีในการประเมิน ดังนี้
        - Net profit คำนวณจากผลต่างระหว่างต้นทุนทั้งหมดและรายรับทั้งหมดตลอดอายุของโปรเจ็ค ซึ่งจะสนใจแต่กำไรในตอนสุดท้าย แต่ไม่ได้คำนึงถึงเงินทุนและเวลา
        - Payback Period มีข้อดี คือ คำนวณง่าย แต่ข้อเสียคือไม่ได้สนใจ Net profit สนใจแต่ว่าจะคืนทุนเมื่อไหร่เท่านั้น
        - ROI ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบผลกำไรสุทธิกับเงินลงทุน มีข้อเสียคือ ไม่ได้สนใจมูลค่าตามเวลา
        - NPV ดูจากมูลค่าของกระแสเงินสดที่คิดลดด้วยอัตราคิดลด ซึ่งสะท้อนมูลค่าตามเวลา แต่หากใช้อัตราคิดลดต่างกันอาจทำให้การตัดสินใจต่างกันได้
        - IRR จุดที่ทำให้ NPV = 0 มีข้อเสียคือ ไม่สามารถเปรียบเทียบกับการลงทุนอื่นได้โดยตรง เพราะเป็นคนละ Base

Advanced Methods for Justifying IT Investment and Using IT Metrics
         
        นอกจากเทคนิคการประเมินที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ยังมีอีกหลายวิธีที่ช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับการลงทุนใน IT ได้แก่
        - TCO (Total Cost of Ownership) มองต้นทุนตลอดอายุการใช้งานของ IT แล้วนำไปเปรียบเทียบกับ TBO (Total Benefit of Ownership) เพื่อดู Payoff คล้ายกับ Cost-Benefit Analysis โดยสามารถใช้ TCO ในการเปรียบเทียบทางเลือกได้
      - Benchmarks เปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม หรือผู้เล่นในตลาดที่ดีที่สุดในอุตสาหกรรมนั้นๆ
        - Balanced Scorecard Method เป็นการประเมินใน 4 มุมมอง ได้แก่
(1) มุมมองด้านการเงิน ซึ่งจะมี KPI วัดการเพิ่มขึ้นของกำไร รายได้ และการลดลงของต้นทุน
(2) มุมมองด้านลูกค้า ประเมินความพึงพอใจของลูกค้า
(3) มุมมองด้านกระบวนการภายใน ประเมิน Productivity ทักษะ คุณภาพ และการปฏิบัติงานของพนักงาน
(4) มุมมองด้านการเรียนรู้และการเติบโตขององค์กร ประเมินความพึงพอใจและทัศนคติของพนักงาน

Economic Aspects of IT and Web-Based Systems
         
        การลงทุนต้องสนับสนุนกลยุทธ์ขององค์กร ไม่ควรลงทุนเหมือนกับในยุค E-commerce ที่เปิดตามๆ กัน
 
Where costs of IT investment go?
        1. ค่าใช้จ่ายทั้งหมดจัดเป็นค่าใช้จ่ายส่วนกลาง หรือที่เรียกว่า Overhead
        2. Chargeback เป็นการ Charge กลับไปยังผู้ใช้ตามจำนวนที่ใช้  ข้อดี คือ สามารถนำข้อมูลพฤติกรรมการใช้ไป Manage เพื่อสร้างแรงจูงใจได้ แต่ข้อเสียคือ Allocate ยากแล้วแต่ลักษณะงาน

Failures & Runaway Projects
- โปรเจ็คที่ยากที่จะจัดการหรือเกิดต้นทุนสูงในกรณีที่เกิดสิ่งที่ไม่ได้คาดไว้
- โปรเจ็คที่มีโอกาสสูงที่จะล้มเหลวหรือผิดไปจากเป้าหมายเดิมที่ได้วางไว้
- อาจเกิดจากประเด็นทางด้านเศรษฐกิจ เช่น การวิเคราะห์ Cost-Benefit ไม่ถูกต้อง หรือการขาดแคลนเงินทุน เป็นต้น

Major Managerial Issues
- เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
- เดิมมอง Tangible Benefits เป็นหลักเพียงอย่างเดียว แต่ปัจจุบันต้องมอง Intangible Benefits ประกอบด้วย
- ผลตอบแทนไม่ใช่สิ่งที่เป็นรูปธรรมแน่นอน เช่น Productivity paradox ที่ต้องวัดเสมอ ถึงจะเห็น Payback
- Chargeback ถ้ามีการ Charge อาจทำ Incentive ได้ด้วย เช่น การใช้ไฟฟ้าต่ำกว่าเกณฑ์จะจ่ายค่าไฟในอัตราต่ำๆ
- Risk ต้องมีการวิเคราะห์ความเสี่ยง โอกาสที่จะเกิด และขนาดของผลกระทบ
- การวัดมูลค่าการลงทุนใน IT ทำได้โดย NPV, IRR เป็นต้น
- ผู้พิจารณาการลงทุนใน IT เดิมด้านการเงินจะเป็นผู้จัดการ แต่ปัจจุบันจะมี committee ที่เป็นตัวแทนจากฝ่ายต่างๆ พิจารณาร่วมกัน


น.ส.จิราพร พรพัฒนกุลฑล
ID No. 5202112743

วันพุธที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553

20101130 : AI613 Class4

Outsourcing, Offshoring, and IT as a Subsidiary

เหตุผลที่ต้อง Outsource
1. เพราะต้องการให้ความสำคัญกับธุรกิจหลัก
2. เพื่อเป็นการลด Cost เนื่องจากการเกิด Economy of scale
3. เพื่อเพิ่มคุณภาพ
4. เพื่อเพิ่ม Speed ในการออกสู่ตลาด
5. เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ด้วยความรวดเร็ว เนื่องจากการพัฒนาเองอาจทำให้เกิดความล่าช้า ไม่ทันการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี

รูปแบบการ Outsource IT
- Application Maintenance การดูแลแอพพลิเคชั่น
- Telecommunications / LAN เครือข่ายการติดต่อสื่อสาร
- PC Maintenance เช่นศูนย์คอมพิวเตอร์ของคณะที่ใช้การเช่า ซึ่งหากเครื่องมีปัญหาก็จะมีคนมาดูแลให้
        การ Outsource สามารถ Outsource ได้ทุกอย่าง เพียงแต่ต้องดูความเหมาะสมด้วย โดยในยุคหลังๆ การ Outsource จะเลือกทำหลายเจ้าแทนที่จะเป็นเจ้าเดียว เหตุเพราะเจ้าเดียวไม่ได้มีความเชี่ยวชาญในทุกๆ ด้าน

Outsourcing Agreements
- Transactional outsourcing agreements : บริษัทจะ Outsource กระบวนการบางส่วนของธุรกิจที่ไม่ใช่ธุรกิจหลักออกไป ส่วนใหญ่จะเป็นส่วนที่เป็นการดำเนินงานแบบที่เป็น Routine
- Co-sourcing alliances : บริษัทและ Outsourcer จะทำเป็นโปรเจ็คร่วมกัน เช่น การพัฒนาแอพพลิเคชั่นร่วมกัน
- Strategic partnership : Outsourcer จะเป็นผู้รับผิดชอบในส่วนหลักๆ ของบริการด้าน IT ของบริษัท

ประโยชน์ของการ Outsource ด้าน IT สามารถแบ่งออกได้หลายด้าน ดังนี้
1. Financial : การ Outsource จะช่วยไม่ให้ต้องลงทุนในด้าน IT มาก, ลดต้นทุนและได้รับประโยชน์จาก Economy of scale จากการแชร์ฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ ทำให้มีเงินทุนที่สามารถนำไปใช้พัฒนาธุรกิจในส่วนอื่นได้
2. Technical : สามารถปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีได้ง่าย เพราะไม่ได้ลงทุนเยอะ อีกทั้งยังสามารถนำไปพัฒนาให้เหมาะสมกับองค์กรได้มากยิ่งขึ้น
3. Management : ทำให้สามารถมุ่งเน้นการพัฒนาในส่วนธุรกิจหลัก, ลดความเสี่ยงจากการใช้ซอฟท์แวร์ที่ไม่ดี และลดค่าใช้จ่ายในการรับสมัครและคัดเลือกพนักงานมาทำงานด้าน IT
4. Human resources : ลดปัญหาจากการที่บุคลากรด้าน IT มี Turnover สูง
5. Quality : เพิ่มคุณภาพในการทำงานและผลการดำเนินงาน
6. Flexibility : สามารถตอบสนองความต้องการทางธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเดิมเมื่อมีหลายแนวคิดทางธุรกิจเกิดขึ้น ฝ่าย IT นั้นไม่สามารถ support ได้ แต่การ Outsource จะทำให้สามารถตอบสนองได้เร็วขึ้น

ความเสี่ยงจากการ Outsource
        1. Shirking การที่ vendor หลีกเลี่ยงที่จะทำตามสัญญาที่ได้ตกลงกันไว้ คือ ทำงานน้อยกว่าที่ตกลง แต่เก็บเงินเต็มจำนวน
        2. Poaching การที่ vendor เอาแอพพลิเคชั่นที่พัฒนาเพื่อเราไปใช้กับคนอื่น
        3. Opportunistic repricing การทำสัญญาระยะยาว แล้ว Vendor มาขอเปลี่ยนแปลงสัญญาในภายหลัง เช่น ขอขยายสัญญาเนื่องจากทำงานเสร็จไม่ทันกำหนด หรือขอค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่ตกลงกันไว้

ค่าใช้จ่ายที่ซ่อนอยู่ในการ Outsource
- ค่าใช้จ่ายในการวิเคราะห์เปรียบเทียบ Vendor ต่างๆ
        - ค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบ Vendor ซึ่งอาจมาจากการสอบถามผู้ที่เคยใช้มาก่อน
        - ค่าใช้จ่ายในการส่งมอบงาน หรือ Transfer ความรู้ไปยัง Vendor
        - ค่าใช้จ่ายในการส่งบุคลากรไปร่วมพัฒนาและบริหารจัดการความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทกับ Vendor
        - ค่าใช้จ่ายในการโอนส่งงานกลับมายังบริษัท
        Offshore Outsource คือ การ Outsource ไปยังอีกประเทศหนึ่งที่อยู่คนละที่กัน เช่น ไทย Outsource ไปจีน หรือ Outsource IT ไปอินเดีย เนื่องจากอินเดียมีความเชี่ยวชาญมากกว่า แต่ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงความแตกต่างด้านวัฒนธรรมด้วย

กลยุทธ์ในการจัดการความเสี่ยงที่เกิดจากการ Outsource
- Understand project ต้องรู้ว่าความต้องการ IS, IT ของเราคืออะไร
- Divide & conquer โปรเจ็คใหญ่ อาจแบ่งเป็นพาร์ทเล็กๆ แล้วทำทีละส่วน
- Align incentives การให้รางวัล base on activity โดยอาจให้เป็นรายโครงการ เช่น การทำเสร็จเร็ว ก็จ่ายก่อนกำหนด
- Write short-period contracts เพราะถ้าสัญญาระยะยาว อาจต้องเผชิญกับความเสี่ยงจากการที่ vendor มาขอขยาย contact ออกไปอีก จึงต้องมีการ evaluate contact ใหม่อยู่เสมอ
- Control subcontracting บริษัทที่เราไป Outsource อาจไปทำ Outsource ต่ออีกที เพราะฉะนั้นจึงต้องดูบริษัทที่ไป Outsource ต่ออีกทีด้วยว่ามีสถานะเป็นอย่างไร
- Do selective outsourcing การ Outsource ไม่ได้ทำทั้งระบบ IT แต่จะเป็นการ Outsource เฉพาะส่วนที่ไม่ได้กระทบกับ Core business

ปัจจัยที่ควรพิจารณาในการทำ Offshore Outsource
- สภาพแวดล้อมทางธุรกิจและการเมืองของประเทศที่เลือกไป Outsource
- คุณภาพของโครงสร้างพื้นฐาน มีการเชื่อมโยงหรือรองรับการ Outsource หรือไม่
- ความเสี่ยงในเรื่องความสามารถด้าน IT บุคลากร เศรษฐกิจ กฎหมาย และความแตกต่างทางวัฒนธรรม
# การทำ Offshore Outsource จะมีข้อดีในเรื่องความแตกต่างทางด้านเวลาด้วย #

ความเสี่ยงและความไม่แน่นอนของการทำ Offshore Outsource
- ความคาดหวังว่าจะสามารถลด cost ได้ แต่จริงๆ แล้วอาจจะไม่ได้ลด
- การป้องกันและความปลอดภัยของข้อมูล เนื่องจากไกลกัน จึงตามเช็คไม่ได้
- เนื่องจาก Outsource ไป ทำให้ไม่สามารถ renovation กระบวนการต่างๆ ได้
- สูญเสียความรู้ทางธุรกิจ เพราะการ Outsource ทำให้ vendor รู้กระบวนการทางธุรกิจของบริษัท
- Vendor ไม่สามารถส่งข้อมูลกลับมายังบริษัทได้
- Scope screep คือ ต้องการบริการเพิ่มเติมจากที่ตกลงกันไว้ใน Agreement 

ลักษณะของงานที่ไม่ควรทำ Offshore Outsource
- งานที่ไม่ได้มีลักษณะแบบ Routine คือไม่มี Process เขียนไว้ชัดเจน
- งานที่ถ้า Outsource ออกไปจะทำให้สูญเสียอำนาจในการควบคุมการดำเนินงานมากจนเกินไป เช่นการเก็บเงิน
- งานที่มีความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของข้อมูล ข้อมูลส่วนตัว หรือทรัพย์สินทางปัญญา
- งานที่ต้องใช้ความรู้หลายๆ ส่วนผนวกเข้าด้วยกัน และต้องพัฒนา IT ขึ้นมาก็ไม่ควร Outsource แต่อาจจ้างผู้เชี่ยวชาญมาทำแทน

การประเมินผลการทำ Outsource
        อาจใช้ Balanced scorecard ซึ่งจะประเมิน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการเงิน ด้านลูกค้า ด้านการเรียนรู้และเติบโต และด้านกระบวนการภายใน โดยการประเมินจะต้องประเมินทุกๆ vendor ที่บริษัททำการ Outsource (Multi-vendor approach)

Acquiring and Developing Business Applications and infrastructure

Acquisition Process of IT Application
Step 1วางแผน ระบุ และกำหนดรายละเอียดของระบบ IT โดยรวม ซึ่งจะมีการพิจารณาถึงต้นทุนและประโยชน์ที่จะได้รับด้วย
Step 2 –สร้างโครงสร้างของระบบ IT ภายใต้โครงสร้างพื้นฐานขององค์กร
Step 3เลือกวิธีการที่จะได้แอพพลิเคชั่นมา ซึ่งมีหลายวิธีด้วยกัน ได้แก่ 1. บริษัททำเอง 2. Vendor ทำระบบที่มี requirement ตามที่ต้องการ 3. ซื้อ แต่อาจจะนำมา Modify หรือไม่ก็ได้ 4. เช่า 5. ร่วมกันทำกับ Partner หรือ Alliance 6. ใช้หลายๆ วิธีรวมกัน

Advantages and Limitatons of the “Buy” Option
>> ข้อดี คือ มีความหลากหลาย ประหยัดเวลาและราคาถูกกว่าการพัฒนาเอง สามารถอัพเดทซอฟท์แวร์ได้บ่อยๆ และไม่จำเป็นต้องจ้างบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้าน IT มาพัฒนา
>> ข้อเสีย คือ ซอฟท์แวร์ที่ซื้ออาจไม่ตรงกับความต้องการของบริษัท 100% อีกทั้งยังยากที่จะปรับปรุงให้เหมาะสมกับบริษัท เพราะบริษัทไม่มีสิทธิในการปรับปรุงและดัดแปลงซอฟท์แวร์ นอกจากนี้ซอฟท์แวร์ที่ซื้ออาจจะยากที่จะเชื่อมต่อกับระบบเดิมที่มีอยู่ และยังมีความเสี่ยงที่ Vendor อาจจะออกจากธุรกิจอีกด้วย

The Rent VS Build Consideration for Acquiring Application
        - Rent ถ้าต้องการให้ความสำคัญกับการพัฒนาในส่วนธุรกิจหลักมากกว่า มีการ Support ทางด้าน IT จำกัด และความต้องการทางเทคโนโลยีขององค์กรมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
        - Build ถ้าแอพพิเคชั่นที่ต้องการใช้มีลักษณะเฉพาะขององค์กร มีการลงทุนในระบบ IT ไปมากแล้ว และมีทรัพยากรจำกัดในการเชื่อมโยงระบบ

Step 4ติดตั้ง และทดสอบการทำงาน
Step 5 ควบคุม ดูแล และอัพเดทระบบ

Business Process Redesign
        Drivers – ความต้องการเปลี่ยนระบบไปสู่ Automation, ลด cycle time, พัฒนา CRM, ทำ procurement และทำ E-business
        Methods ได้แก่ BPR ที่อาจจะรวม Process แต่ละ Process หรือมากกว่า 1 Process เข้าด้วยกัน เช่น ระบบ Call center เป็นต้น และ BPM ที่เชื่อมโยงระบบ Workflow systems และ redesign methods เข้าด้วยกัน

Major Managerial Issues
- Global & cultural โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำ Offshore outsource ที่จะมีความแตกต่างกันทางด้านวัฒนธรรมระหว่างบริษัทที่เป็น Client และ Vendor
- Ethical & legal issues เช่น การ lay off พนักงานเนื่องจากการนำระบบ IT มาใช้ ต้องคำนึงถึงจริยธรรมทางธุรกิจด้วย รวมถึงการรักษาข้อมูลส่วนบุคคลไว้เป็นความลับ
- User involvement ความสัมพันธ์ทั้งทางตรงและทางอ้อมของ User
- Change management อาจมีการต่อต้านที่เกิดจากผู้ที่ไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง จึงต้องมีการเตรียมพร้อมรับมือที่ดี
- Risk management ความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างเช่น เวลาและต้นทุน Overrun ส่วน Performance Underrun  วิธีการแก้ไข คือ ควรจะมีเขียน Spec และ requirement ที่ชัดเจน เพื่อที่จะวางแปนได้อย่างเหมาะสม


น.ส.จิราพร พรพัฒนกุลฑล
ID NO.5202112743