วันพุธที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2553

20101207 : AI613 Class5

Information Technology Economics
Technology and Economic Trends and the Productivity Paradox

Moore’s law – มีการใช้ชิพคอมพิวเตอร์เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ต้นทุนจะยังคงที่ โดยอัตราส่วนราคาต่อ Performance จะลดลงอย่างต่อเนื่อง และด้วยข้อจำกัดของเทคโนโลยีปัจจุบัน ทำให้ต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออนาคตข้างหน้า

Productivity Paradox มีสาเหตุสำคัญ ดังนี้
        1. ผลตอบแทนไม่ชัดเจน ยากที่จะวัด Benefit ที่ได้รับ หรือต้องใข้เวลาในการวัดนาน ต่างจากการลงทุนในโฆษณาที่อาจจะวัดได้จากยอดขายที่เพิ่มขึ้น
        2. การลงทุนใน IT ต้องมีการปันงบประมาณการลงทุนมาจากส่วนอื่น จึงอาจส่งผลกระทบในทางลบแก่ส่วนอื่นๆ ในบริษัทได้
        3. การลงทุนใน IT แม้จะมี Benefit แต่มีต้นทุนสูงมาก
        4. ใช้เวลานานกว่าจะคืนทุน
        5. มีปัจจัยอื่นๆ อย่างเช่น กฎหมาย ข้อพิจารณาด้านแรงงาน เป็นต้น ที่จะทำให้ Performance ไม่เป็นไปตามที่ต้องการ
        # ในการพิจารณาว่าจะลงทุนใน IT หรือไม่ ให้มองที่ระดับองค์กรเท่านั้น ไม่ได้มองว่า คุ้มหรือไม่ แต่การลงทุนต้องพัฒนา Productivity ขององค์กรโดยรวม ซึ่งอาจพิจารณาแยกเป็น 2 ประเภท คือ ผลกระทบทางตรง (Direct Impact) ได้แก่ การลดต้นทุนการขนส่ง การเพิ่มยอดขาย เป็นต้น และผลกระทบทางอ้อม (Second-order Impact) ได้แก่ การได้ส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้น แล้วทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้น เป็นต้น

Evaluating IT Investments :
Needs, Benefits, Issues, and Traditional Methods

สาเหตุที่ต้องมีการพิจารณาการลงทุนใน IT
เพราะในสมัยก่อนการลงทุนใน IT จะยังขาดความรู้ความเข้าใจและเป็นการลงทุนแห่ตามกัน อย่างเช่น E-Commerce ส่งผลให้ขาดความรู้และเครื่องมือในการคำนวณ วิเคราะห์ทางการเงิน และประเมินผลตอบแทนที่จะได้รับ ดังนั้นจึงต้องมีการประเมินว่า IT Project ให้ Benefit แก่องค์กรอย่างไร โดยองค์กรจะต้องตระหนักว่า การลงทุนใน IT นั้นมิได้เป็นการวิธีแก้ปัญหาที่จำเป็นสำหรับทุกปัญหา ซึ่งการพิจารณาว่าจะลงทุนใน IT หรือไม่นั้น อาจอาศัยวิธีการวิเคราะห์ Cost-Benefit โดย Benefit ที่จะได้รับอาจต้องใช้เวลาในการวัดและเห็นผล นอกจากนี้ความสำเร็จของ IT Project ยังสามารถใช้เป็นแรงจูงใจได้ เช่น การที่ IT Project ประสบความสำเร็จ ส่งผลให้ยอดขายเพิ่ม ก็จ่ายโบนัสให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเพิ่ม ซึ่งจะเป็นแรงจูงใจให้เกิดการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นได้

Project ที่ไม่ต้องพิจารณาเรื่อง Cost-Benefit ได้แก่
1. โปรเจ็คที่ใช้เงินลงทุนน้อย ถ้าจะ justify ก็เสียเวลา
2. โปรเจ็คที่เป็น Infrastructure ซึ่งถ้าหากไม่ลงทุนจะก่อให้เกิดความเสี่ยง
3. โปรเจ็คที่เจ้านายสั่ง ไม่ต้อง Justify เพราะไม่ว่ายังไงก็ต้องทำ
4. โปรเจ็คที่มีข้อมุลในการตัดสินใจไม่เพียงพอ ทำให้ Justify ไม่ได้ จึงต้องอาศัยการประเมินแบบ Qualitative แทน

Difficulties in Measuring Productivity & Performance Gains
1. ตอบไม่ได้ว่าจะวัดอะไร เพราะมีทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน หรืออาจวัดได้ยาก เช่น Second-order impact จึงต้องมีตัวชี้วัดที่ชัดเจน
2. Time Lags - การลงทุนส่งผลตอบแทนช้า ทำให้การวัด Productivity ต้องเลื่อนออกไปหลังจากที่ระบบสมบูรณ์แล้ว
3. วัดความสัมพันธ์ระหว่างการลงทุนใน IT และ Performance ขององค์กรได้ยาก เช่น เรื่องความพึงพอใจของลูกค้า อาจแก้โดยใช้เครื่องมือในการวัดอย่าง Balanced scorecard มาช่วย

Intangible Benefits 
        ผลประโยชน์ที่อยากจะประเมินเป็นตัวเงิน เช่น การที่สินค้าออกสู่ตลาดเร็ว ความพึงพอใจของลูกค้า ผู้ใช้ หรือพนักงาน และความคล่องตัวขององค์กร เป็นต้น ซึ่งถ้าประเมิน Intangible benefit สูงไป อาจทำให้พลาดโอกาสในการลงทุนอื่นๆ ที่ดีกว่า ในทางกลับกัน หากประเมิน Intangible benefit ต่ำไป อาจทำให้พลาดโอกาสการลงทุนที่ดีนี้ไปเข่นกัน ดังนั้นจึงต้องพยายามที่จะวัดในสิ่งที่วัดไม่ได้ให้วัดได้ โดยสามารถใช้วิธีการดังต่อไปนี้
 - Think broadly and softly มองหา Benefit อื่นๆ ที่อาจนำไปสู่ผลลัพธ์ทางการเงินที่สำคัญได้ เช่น ลูกค้ามีความซื่อสัตย์กับองค์กรมากขึ้น
         - Pay your freight first มองผลประโยชน์ที่จะได้รับในระยะสั้นๆ ก่อน
        - Follow the unanticipated มองผลประโยชน์ที่จะมาจากทุกๆ ทาง บางครั้งเรียกว่า Crowd sourcing

Costing IT Invesment
ประกอบด้วยต้นทุนคงที่ (Fixed cost) ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในปีแรก และ Transaction costs ได้แก่ ต้นทุนในการค้าหาผู้ซื้อหรือผู้ขายที่มีสินค้าหรือบริการที่ต้องการ (Search) ต้นทุนการหาข้อมูลเกี่ยวกับการซื้อขายหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (information) ต้นทุนในการเจรจาต่อรองหรือตกลงซื้อขายกัน (Negotiation) ต้นทุนในการตัดสินใจ (Decision) เช่น การอนุมัติการซื้อ การตรวจสอบสินค้า และต้นทุนในการติดตามผล (Monitoring) เช่น บริษัท DHL ซึ่งเป็นบริษัททำธุรกิจขนส่ง หรือไปรษณีย์ที่ต้องมีระบบที่สามารถติดตามสถานะของสินค้าได้

Revenue Models Generated by IT & Web
- Sales รายได้จากการขายสินค้าหรือบริการในระบบออนไลน์ เช่น การทำ E-commerce
- Transaction fees เช่น e-bay ที่จะได้เงินส่วนหนึ่งตอนที่มีการซื้อขายสินค้ากันบนเว็บ
- Subscription fees เช่น ต้องการใช้งานแบบพรีเมี่ยมก็ยอมจ่ายเงินเพิ่ม
- Advertising fees เช่น Google ที่ได้ค่าโฆษณา หรือรายได้จากให้เช่าพื้นที่สำหรับแบนเนอร์ต่างๆ
- Affiliate fees เกิดจากการเอาแบนเนอร์มาแปะบนเว็บ แล้วเมื่อลูกค้าซื้อสินค้าโดยกดผ่านแบนเนอร์ ก็จะได้รับเงิน

Cost-Benefit Analysis
    การวิเคราะห์จะอาศัยหลักเกณฑ์การเปรียบเทียบต้นทุนที่คาดว่าจะต้องเสียกับรายได้หรือผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ซึ่งการลงทุนในโปรเจ็คใดๆ จะต้องได้รับผลตอบแทนมากกว่าผลตอบแทนที่ได้จากการนำเงินไปฝากธนาคาร และควรมีการเรียงลำดับความสำคัญ เพื่อให้มีการปันส่วนทรัพยากรอย่างเหมาะสม โดยในการวิเคราะห์ Cost-Benefit มี 2 ขั้นตอนด้วยกัน คือ
        1. ระบุและประเมินต้นทุนและผลประโยชน์ตอบแทนทั้งหมดที่จะได้จากโปรเจ็ค
        2. แปลง Cost และ Benefit ให้เป็น Common units คือเป็นตัวเงินชัดเจน
       Costs ได้แก่ ต้นทุนการพัฒนา (ค่าจ้างคนพัมนาระบบ) ต้นทุนการติดตั้ง (ค่าฮาร์ดแวร์ ซอฟท์แวร์) และต้นทุนการใช้งาน (ค่าใช้จ่ายคนที่มา operate ระบบ ค่าไฟ ค่ากระดาษ)
        Benefits ได้แก่ Direct benefits (ลดกระดาษ, Transaction เร็วขึ้น) Assessable indirect benefits และ Intangible benefits ซึ่งควรจะประเมินให้เป็นตัวเงิน เช่น การที่ลูกค้ามีความพึงพอใจมากขึ้น ทำให้รายได้เพิ่มขึ้น 1%

Cash Flow Forecasting
        เป็นการระบุรายรับและรายจ่ายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อใช้ในการตัดสินใจลงทุนในโปรเจ็คต่างๆ ซึ่งมีหลายวิธีในการประเมิน ดังนี้
        - Net profit คำนวณจากผลต่างระหว่างต้นทุนทั้งหมดและรายรับทั้งหมดตลอดอายุของโปรเจ็ค ซึ่งจะสนใจแต่กำไรในตอนสุดท้าย แต่ไม่ได้คำนึงถึงเงินทุนและเวลา
        - Payback Period มีข้อดี คือ คำนวณง่าย แต่ข้อเสียคือไม่ได้สนใจ Net profit สนใจแต่ว่าจะคืนทุนเมื่อไหร่เท่านั้น
        - ROI ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบผลกำไรสุทธิกับเงินลงทุน มีข้อเสียคือ ไม่ได้สนใจมูลค่าตามเวลา
        - NPV ดูจากมูลค่าของกระแสเงินสดที่คิดลดด้วยอัตราคิดลด ซึ่งสะท้อนมูลค่าตามเวลา แต่หากใช้อัตราคิดลดต่างกันอาจทำให้การตัดสินใจต่างกันได้
        - IRR จุดที่ทำให้ NPV = 0 มีข้อเสียคือ ไม่สามารถเปรียบเทียบกับการลงทุนอื่นได้โดยตรง เพราะเป็นคนละ Base

Advanced Methods for Justifying IT Investment and Using IT Metrics
         
        นอกจากเทคนิคการประเมินที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ยังมีอีกหลายวิธีที่ช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับการลงทุนใน IT ได้แก่
        - TCO (Total Cost of Ownership) มองต้นทุนตลอดอายุการใช้งานของ IT แล้วนำไปเปรียบเทียบกับ TBO (Total Benefit of Ownership) เพื่อดู Payoff คล้ายกับ Cost-Benefit Analysis โดยสามารถใช้ TCO ในการเปรียบเทียบทางเลือกได้
      - Benchmarks เปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม หรือผู้เล่นในตลาดที่ดีที่สุดในอุตสาหกรรมนั้นๆ
        - Balanced Scorecard Method เป็นการประเมินใน 4 มุมมอง ได้แก่
(1) มุมมองด้านการเงิน ซึ่งจะมี KPI วัดการเพิ่มขึ้นของกำไร รายได้ และการลดลงของต้นทุน
(2) มุมมองด้านลูกค้า ประเมินความพึงพอใจของลูกค้า
(3) มุมมองด้านกระบวนการภายใน ประเมิน Productivity ทักษะ คุณภาพ และการปฏิบัติงานของพนักงาน
(4) มุมมองด้านการเรียนรู้และการเติบโตขององค์กร ประเมินความพึงพอใจและทัศนคติของพนักงาน

Economic Aspects of IT and Web-Based Systems
         
        การลงทุนต้องสนับสนุนกลยุทธ์ขององค์กร ไม่ควรลงทุนเหมือนกับในยุค E-commerce ที่เปิดตามๆ กัน
 
Where costs of IT investment go?
        1. ค่าใช้จ่ายทั้งหมดจัดเป็นค่าใช้จ่ายส่วนกลาง หรือที่เรียกว่า Overhead
        2. Chargeback เป็นการ Charge กลับไปยังผู้ใช้ตามจำนวนที่ใช้  ข้อดี คือ สามารถนำข้อมูลพฤติกรรมการใช้ไป Manage เพื่อสร้างแรงจูงใจได้ แต่ข้อเสียคือ Allocate ยากแล้วแต่ลักษณะงาน

Failures & Runaway Projects
- โปรเจ็คที่ยากที่จะจัดการหรือเกิดต้นทุนสูงในกรณีที่เกิดสิ่งที่ไม่ได้คาดไว้
- โปรเจ็คที่มีโอกาสสูงที่จะล้มเหลวหรือผิดไปจากเป้าหมายเดิมที่ได้วางไว้
- อาจเกิดจากประเด็นทางด้านเศรษฐกิจ เช่น การวิเคราะห์ Cost-Benefit ไม่ถูกต้อง หรือการขาดแคลนเงินทุน เป็นต้น

Major Managerial Issues
- เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
- เดิมมอง Tangible Benefits เป็นหลักเพียงอย่างเดียว แต่ปัจจุบันต้องมอง Intangible Benefits ประกอบด้วย
- ผลตอบแทนไม่ใช่สิ่งที่เป็นรูปธรรมแน่นอน เช่น Productivity paradox ที่ต้องวัดเสมอ ถึงจะเห็น Payback
- Chargeback ถ้ามีการ Charge อาจทำ Incentive ได้ด้วย เช่น การใช้ไฟฟ้าต่ำกว่าเกณฑ์จะจ่ายค่าไฟในอัตราต่ำๆ
- Risk ต้องมีการวิเคราะห์ความเสี่ยง โอกาสที่จะเกิด และขนาดของผลกระทบ
- การวัดมูลค่าการลงทุนใน IT ทำได้โดย NPV, IRR เป็นต้น
- ผู้พิจารณาการลงทุนใน IT เดิมด้านการเงินจะเป็นผู้จัดการ แต่ปัจจุบันจะมี committee ที่เป็นตัวแทนจากฝ่ายต่างๆ พิจารณาร่วมกัน


น.ส.จิราพร พรพัฒนกุลฑล
ID No. 5202112743

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น